การชาร์จแบตเตอรี่และการดูแลรักษาแบตเตอรี่
June 6, 2017การชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์และการดูแลรักษา
June 6, 2017แบตเตอรี่รถยนต์ถูกผลิตขึ้นเพื่อให้หมดอายุ
แบตเตอรี่รถยนต์ ถูกผลิตขึ้นเพื่อให้หมดอายุ
แค่อย่าให้แบตเตอรี่ของคุณหมดประสิทธิภาพก่อนเวลาอันควรก็พอ
ทุกครั้งที่แรงดันแบตเตอรี่รถยนต์ร่วงลงมาต่ำว่าขีดที่กำหนด นั่นคือความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
ทุกสิ่งถูกเกิดมาหรือถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับวันหมดอายุ สิ่งมีชีวิตทุกอย่างล้วนต้องตาย สิ่งไม่มีชีวิตก็ต่างชำรุด และข้าวโพดกระป๋องอันนั้นที่คุณเก็บมันไว้หลังตู้กับข้าวตั้งแต่สมัยของคลินตันก็ไม่ได้ปูดออกมาเพียงเพราะแค่ว่าอยากจะเห็นหน้าคุณ ไม่มีสิ่งไหนบอกว่าคุณไม่สามารถฝืนกระบวนการทางธรรมชาติได้ การบริโภคที่ดีและการออกกำลังกายอาจช่วยให้คุณอยู่ได้นานขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น และในทางเดียวกัน การดูแลที่เหมาะสมและทำนุบำรุงแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณก็ช่วยให้มันสามารถอยู่ได้นานขึ้นเช่นกัน
แน่นอนว่ามันเป็นดาบสองคม ในแบบเดียวกันที่นักคณิตศาสตร์อาจสามารถบอกคุณได้ว่าจำนวนที่แน่นอนของนาทีที่บุหรี่จะพรากชีวิตคุณ ทุกครั้งที่คุณละเลยแบตเตอรี่ของคุณ อายุขัยของมันก็กำลังจะสั้นลงอย่างที่ไม่มีวันเรียกกลับคืน
วัฏจักรการทำงานและแบตเตอรี่ที่เสื่อมคุณภาพ
อายุของแบตเตอรี่จะแสดงออกมาในรูปแบบของวัฏจักรการทำงาน ซึ่งใช้ได้กับแบตเตอรี่ทุกประเภท มันจึงไม่มีคำนิยามตายตัวสำหรับแต่ละการใช้งาน ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่บางแบบอาจถูกออกแบบมาเพื่อใช้ได้อย่างหมดสนิท แต่บางแบบอาจถูกออกแบบมาเพื่อให้มีปริมาณคงเหลือในระดับหนึ่ง เนื่องจากแบตเตอรี่แบบตะกั่วเป็นแบบหลัง “วัฏจักรการทำงาน” สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณประกอบด้วยปริมาณการใช้ในเปอร์เซ็นที่กำหนด ตามด้วยการชาร์จจนเต็ม
ประเด็นเหล่านั้นคงไม่เป็นปัญหาหากทุกอย่างในห้องเครื่องทำงานได้อย่างปกติ
ในสถานการณ์ปกติแล้ว การสตาร์ทรถจะใช้แบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ว่าตัวปั่นไฟจะสำรองไฟเข้ามาแทนที่ขณะที่คุณขับรถ ในทางเดียวกัน กระแสไฟใดๆก็ตามที่ถูกดึงไปใช้โดยอุปกรณ์อื่นๆในรถขณะขับรถจะถูกจ่ายโดยตัวปั่นไฟ ดังนั้นแบตเตอรี่จะไม่ “ทำงานในรอบ” มากกว่าที่มันควรจะเป็น
เมื่อการทำงานไม่เป็นไปตามปกติ แบตเตอรี่ถูกใช้ไปมากกว่าที่มันควรจะเป็น นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา ตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดไฟหน้าทิ้งไว้ข้ามคืน และกลับมาพบว่าสตาร์ทเครื่องไม่ติด นี่คือตัวอย่างแบตเตอรี่ที่ถูกใช้จนหมดเกลี้ยง หากคุณสังเกตไฟหน้าหรือไฟหรี่ที่ดูสลัวๆ มีสัญญาณเตือนว่าไฟจะดับ หรือตัววัดแรงดันบนหน้าปัดตกลงมาต่ำกว่า 14.2 โวลต์ สิ่งเหล่านั้นเป็นตัวบ่งบอกว่าตัวปั่นไฟไม่ได้ทำงานอย่างเป็นปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูบแบตเตอรี่เกินปกติอย่างรวดเร็ว
เกิดอะไรขึ้นเมื่อแบตเตอรี่คายประจุ
เมื่อแบตเตอรี่ตะกั่วไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างที่ควรจะเป็น และมันไม่ได้ถูกเปลี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่แล้วตั้งแต่มันถูกผลิต เทคโนโลยีพื้นฐานนั้นเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ แผ่นธาตุถูกพันไว้เป็นคู่ในกรดซัลฟูริกทำหน้าที่เหมือนอิเล็คโทรไลต์ แผ่นธาตุแต่ละคู่จะมีอันหนึ่งที่เคลือบด้วยตะกั่วไดออกไซด์ และเมื่อแรงดันไฟฟ้าถูกใช้ก็จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น
เมื่อแบตเตอรี่ตะกั่วถูกทำให้หมด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ที่มีการจ่ายไฟเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ เปิดไฟหน้า หรือเล่นเครื่องเสียงบนรถ แผ่นธาตุจะค่อยๆทำปฏิกิริยาให้เกิดตะกั่วซัลเฟต
นี่เป็นกระบวนการปกติ แต่ในสถานการณ์อื่น มันอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หากคุณฟังวิทยุในรถของคุณขณะที่ดับเครื่องยนต์ เมื่อผู้โดยสารของคุณออกไปทำธุระ แบตเตอรี่ก็จะถูกชาร์จโดยตัวปั่นไฟ เมื่อคุณติดเครื่องยนต์อีกครั้ง ปฏิกิริยาซัลเฟชั่นจะทำงานตรงกันข้าม
การใช้งานเกินความสามารถที่กำหนด
แบตเตอรี่รถยนต์บางครั้งอาจถูกหมายถึง “แบตเตอรี่สตาร์ท” เนื่องจากมันถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่นี้โดยพื้นฐานแล้ว มอเตอร์สตาร์ทต้องการกระแสไฟฟ้ามาก และมันต้องถูกส่งมาในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นแผ่นธาตุในแบตเตอรี่ทั่วไปจะถูกออกแบบมาให้บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อจะสามารถมีพื้นที่ผิวมากที่สุด
แน่นอนว่านี่ทำให้แผ่นธาตุไวต่อการเสียหายเนื่องมาจากปฏิกิริยาซัลเฟชั่น
ระบบชาร์จรถยนต์โดยปกติจะอยู่ที่ 14 โวลต์ และแบตเตอรี่รถจะอ่านได้ประมาณ 13 โวลต์ เมื่อถูกชาร์จจนเต็ม เมื่อเป็นอย่างนั้น แบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดามักจะถูก”ชาร์จเต็ม”อยู่ที่ 10.5 โวลต์ ซึ่งจะเป็นประมาณ 80% ของแบต แม้ว่าแบตจะเหลืออยู่ที่ 80% แต่ก็ต้องการการคายประจุเพราะหากใช้วงจรที่ยาวนานกว่านี้จะทำให้ไปทำลายแผ่นธาตุผ่านกระบวนการซัลเฟชั่นที่มากเกินไป
ในระหว่างที่ปฏิกิริยาซัลเฟชั่นกำลังทำงานย้อนกลับ ซึ่งทำให้แบตเตอรี่หมดอย่างต่อเนื่องหรือว่าปล่อยมันให้คายประจุไปเรื่อยๆทำให้ตะกั่วซัลเฟตตกผลึก ในจุดนี้การชาร์จแบตเตอรี่จะทำให้ปฏิกิริยาซัลเฟชั่นบางตัวทำงานย้อนกลับ แต่ซัลเฟตตะกั่วที่ตกผลึกจะยังคงอยู่บนแผ่นธาตุ และจากการทดลองแล้วจะไปลดปริมาณการจ่ายไฟของแบตเตอรี่และทำให้แบตเตอรี่อายุสั้นลง
คุณควรจัดการกับแบตเตอรี่ที่หมดแล้วอย่างไร
เมื่อแบตเตอรี่ถูกใช้จนเหลือในระดับที่ต่ำกว่าศูนย์ ให้ตระหนักไว้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่คุณทำได้คือเช็คอิเล็กโทรไลต์และชาร์จด้วยประจุไฟฟ้าต่ำอย่างช้าๆ หากนี่เป็นครั้งแรกที่แบตคายประจุออกมาหมด คุณควรจะชาร์จมันให้เต็มแล้วใช้มันต่อได้ แต่ทุกครั้งที่แบตเตอรี่ถูกใช้จนหมดจนถึงระดับ 10.5 โวลต์ ความเสียหายได้เกิดขึ้นกับแบตแล้วอย่างแน่นอน
สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ การจั๊มพ์สตาร์ทและใช้รถของคุณวิ่งไปทั้งๆที่แบตหมดไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อแบตเตอรี่หรือตัวปั่นไฟเลย แม้คุณจะขับมันไปเป็นเวลานานและเร่งเครื่อง มันก็ดูเหมือนว่ายังไงคุณก็ไม่สามารถจะชาร์จแบตได้เต็มในสภาวะแบบนั้น แต่เป็นการใช้แบตทั้งที่เหลือในระดับต่ำมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยายาซัลเฟชั่น และยังเพิ่มความยากลำบากในการทำงานของตัวปั่นไฟด้วยเพราะมันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อชาร์จแบตเตอรี่จากระดับที่หมดเกลี้ยง ตัวปรับแรงดันเครื่องปั่นไฟต้องการ 12 โวลต์ในการทำงานได้อย่างปกติ
หลีกเลี่ยงไม่ให้แบตเตอรี่หมดถึงขีดสุดได้อย่างไร
ทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงไม่ให้แบตเตอรี่ไปจนถึงจุดที่หมดจนเป็นอันตรายต่อการทำงานจะต้องอาศัยการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ นี่เป็นการแก้ปัญหาก่อนที่มันละลุกลาม ซึ่งปัญหานี้ควรจะถูกจัดการทันทีอย่างไม่นิ่งนอนใจ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสังเกตเห็นว่ารถของคุณสตาร์ติดยากในเช้าวันหนึ่ง ทั้งๆที่ไม่ได้เปิดไฟหน้าทิ้งไว้ มันอาจจะเกิดความผิดพลาดในระบบและจำเป็นต้องแก้ไขก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียหาย หรือใช้ได้อย่างไร้ประสิทธิภาพ นี่จะเป็นหนทางที่จะประหยัดเงินให้คุณได้ในระยะยาวมากกว่า