เพิ่มแบตเตอรี่ ตัวที่สองให้รถเพื่อคุณภาพเสียงที่เหนือกว่า
June 6, 2017ทำไมแบตเตอรี่รถยนต์ถึงได้หมดอยู่เรื่อย
June 6, 2017อายุแบตเตอรี่ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีวันหมดอายุ
อายุแบตเตอรี่ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีวันหมดอายุ
- เพียงแค่อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์ของคุณเสื่อมก่อนอายุการใช้งานจริง
- ทุกครั้งที่ศักย์ไฟฟ้าของแบตเตอรี่รถยนต์ตกลงมาจนถึงจุดๆ หนึ่ง ความเสียหายก็เกินแก้ไข
เทคโนโลยียนตรกรรม
ทุกอย่างถือกำเนิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นพร้อมกับวันหมดอายุ สิ่งมีชีวิตตาย สิ่งไม่มีชีวิตก็ผุพังและกระป๋องครีมข้าวโพดที่อยู่ในตู้กับข้าวของคุณมาตั้งแต่สมัย ปธน.คลินตัน แล้วยังไม่ได้เอาออกมากินนั้น ก็เป็นหนึ่งในความจริงข้อนี้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ไม่ใช่จะบอกว่าคุณไม่สามารถจะทำอะไรได้เลยกับเวลาที่ไหลผ่านไปอย่างรวดเร็วได้ การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะและออกกำลังกายสามารถช่วยคุณให้อายุยืนขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น และเช่นเดียวกัน การเอาใจใส่ดูแลและทำนุบำรุงแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณอย่างเหมาะสม ก็ช่วยยืดอายุแบตเตอรี่รถยนต์ให้ใช้ได้ยาวนานได้เช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าดาบมีสองคม ในขณะเดียวกัน นักสถิติประกันภัยเองก็สามารถจะบอกเวลาที่เหลืออยู่ได้ ก็เหมือนการประมาณการสูบบุหรี่ที่จะบั่นทอนอายุของคุณลง ทุกครั้งที่คุณปล่อยประจุของแบตเตอรี่รถยนต์ออกจนหมด (หมายเหตุ: การปล่อยประจุแบตเตอรี่่รถยนต์ออกให้หมด = การทำให้แบต/ถ่านหมด) คุณกำลังบั่นทอนอายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์โดยไม่มีทางที่จะแก้ไขกลับคืนได้
รอบการทำงานและแบตเตอรี่รถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
อายุแบตเตอรี่รถยนต์มักจะบ่งบอกจากรอบการทำงานซึ่งเป็นหลักการเดียวกันในทุกชนิดของแบตเตอรี่ ฉะนั้น มันก็ไม่ได้มีคำจำกัดความเฉพาะตัวอะไรในทุกการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่บางชนิดถูกออกแบบมาเพื่อให้ปล่อยประจุทั้งหมดในครั้งเดียว ในขณะที่ชนิดอื่นๆ ถูกออกแบบให้บรรจุประจุได้ตลอดที่บางระดับเท่านั้น กรณีถ่านชนิดกรดตะกั่วก็คือแบบที่สอง ซึ่งมี “รอบการทำงาน” สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ด้วยการปล่อยประจุได้ระดับหนึ่งแล้ว ต้องบรรจุประจุกลับให้เต็มถึงจะทำงานต่อได้
“ไม่มีอะไรจะเป็นปัญหา หากทั้งหมดนี้ทำงานได้อย่างปกติภายใต้การควบคุมของคุณ”
ในสถานการณ์ปกติ การสตาร์ทรถคือการปล่อยประจุเล็กน้อย แต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะบรรจุประจุกลับเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ขณะคุณขับขี่ ในลักษณะเดียวกัน พลังงานที่คุณใช้ไปกับอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าต่างๆ ขณะคุณขับรถก็จะได้มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้น แบตเตอรี่่รถยนต์จะไม่ได้มีรอบการทำงานได้มากเท่ากับขนาดบรรจุที่บ่งบอกไว้
เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม และแบตเตอรี่รถยนต์ปล่อยประจุมากกว่าที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเปิดไฟหน้ารถทิ้งไว้ทั้งคืน ตอนเช้ามา รถคุณก็จะสตาร์ทไม่ติด นี่คือตัวอย่างเมื่อแบตเตอรี่่รถยนต์ตายสนิท เมื่อคุณเริ่มสังเกตุเห็นว่าไฟหน้ารถหรือไฟหน้าปัดรถเริ่มอ่อนแสงลง มีไฟสัญญาณแจ้งเตือนให้ชาร์ทแบต หรือมาตรวัดศักย์ไฟฟ้าลดลงต่ำกว่า 14.2 โวลต์ ทั้งหมดนี้คือตัวชี้ว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ทำงานตามปกติ นำไปสู่การที่แบตเตอรี่รถยนต์ปล่อยประจุมากเกินกำหนด
เกิดอะไรขึ้นเมื่อแบตเตอรี่ชนิดกรดตะกั่วปล่อยประจุจนหมด (แบตหมด)
แบตเตอรี่ชนิดกรดตะกั่วไม่น่าประทับใจหรือไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหน้าที่ที่ควรจะเป็นและมันก็ไม่มีการพัฒนาใดๆ ให้ดีขึ้นตลอดศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาหรือก็คือตั้งแต่แบตเตอรี่รถยนต์ถือกำเนิดขึ้นด้วยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานซึ่งง่ายอย่างเหลือเชื่อ แผ่นตะกั่วจำนวนหนึ่งแช่เป็นคู่ๆ อยู่ในอ่างกรดซัลฟิวริกซึ่งทำหน้าที่เป็นอิเล็กโตรไลท์ แต่ละคู่ของแผ่นตะกั่ว จะมีอยู่แผ่นหนึ่งที่เคลือบด้วยลีดไดออกไซด์ และเมื่อให้ศักย์ไฟฟ้าเข้าไปก็จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
เมื่อแบตเตอรี่ชนิดกรดตะกั่วปล่อยประจุออกมา มันก็จะให้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ เปิดไฟหน้า หรือทำให้เครื่องสเตอริโอของคุณทำงาน ขณะนั้นเอง แผ่นตะกั่วก็จะค่อยๆ ถูกเคลื่อบด้วยลีดซัลเฟต
นี่คือกระบวนการอย่างปกติ และภายใต้สถานการณ์ปกติ เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณฟังวิทยุในรถขณะที่ดับเครื่องยนต์ระหว่างรอเพื่อนคุณลงจากรถไปซื้อของ แบตเตอรี่รถยนต์จะถูกบรรจุประจุกลับด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็เมื่อคุณสตาร์ทรถอีกครั้งหนึ่งและกระบวนการเกิดซัลเฟตก็จะกลับมาอีกครั้งด้วย
การใช้งานมากกว่าที่กำหนด
แบตเตอรี่รถยนต์แบบดั้งเดิมบางครั้งถูกเรียกว่า “แบตเตอรี่สำหรับสตาร์ทรถยนต์” เพราะเป็นเหตุผลหลักที่แบตเตอรี่รถยนต์ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่แรก มอเตอร์จำเป็นที่จะต้องใช้กระแสไฟมากๆ และอย่างรวดเร็วในการสตาร์ทเครื่องยนต์ นำมาซึ่งเหตุผลว่าแผ่นตะกั่วจะต้องบางที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อมีพื้นที่ผิวสัมผัสมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
“แน่นอนว่า นี่คือสาเหตุของการสึกหรอของแผ่นตะกั่วจากปฏิกิริยาซัลเฟต”
ระบบบรรจุประจุของรถยนต์โดยปกติคือราวๆ 14 โวลต์ และแบตเตอรี่รถยนต์มักจะอ่าน 13 โวลต์เมื่อบรรจุประจุเต็มแล้วหรือเมื่อเพิ่งชาร์จเต็มเสร็จใหม่ๆ แบตเตอรี่รถยนต์ปกติแล้วจะถือว่า “แบตหมด” ก็เมื่ออ่านค่าศักย์ไฟฟ้าได้ 10.5 โวลต์ ซึ่งก็คือราวๆ ร้อยละ 80 ของความจุเมื่อเทียบกับตอนที่ชาร์จเต็ม ถึงแม้ว่า ประจุจะลดลงเหลือเพียงแค่ร้อยละ 80 ของความจุที่แท้จริงก็ถือว่าแบตหมดได้แล้ว เพราะหากฝืนใช้จนเหลือน้อยกว่านี้ จะเป็นการทำลายแผ่นตะกั่วด้วย อันทำให้เกิดปฏิกิริยาซัลเฟตมากเกินไป
ขณะที่ปฏิกิริยาซัลเฟตตามปกติเป็นปฏิกิริยาย้อนกลับได้ การที่ใช้แบตเตอรี่จนเกินที่กำหนดหรือปล่อย แบตเตอรี่ที่แบตหมดทิ้งเอาไว้ จะทำให้เกิดลีดซัลเฟตน้อยๆ จนถึงเกิดกลายเป็นผลึก เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว การบรรจุประจุกลับเข้าไปในแบตเตอรี่่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับซัลเฟตบางส่วน แต่ผลึกลีดซัลเฟตที่เกิดขึ้นบนแผ่นตะกั่วจะลดความสามารถในการบรรจุประจุของแบตเตอรี่อย่างถาวรและจะลดอายุการใช้งานโดยรวมด้วย
เราควรทำอะไรกับแบตเตอรี่ที่ตายสนิท
เมื่อแบตเตอรี่รถยนต์ลดลงจนต่ำกว่าระดับที่ถือว่าแบตหมด (หมายเหตุ: ประจุเหลือน้อยกว่าร้อยละ 80 = แบตตายสนิท) นั่นคือ ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่คุณต้องตรวจสอบคืออิเล็กโทรไลต์และให้ใช้อุปกรณ์บรรจุประจุด้วยอัตราต่ำๆ ถ้านี่เป็นครั้งแรกที่ปล่อยจนแบตตายสนิท คุณก็จะสามารถชาร์จแบตได้จนเต็มแล้วใช้งานต่อไปได้ แต่ทุกๆ ครั้งที่ปล่อยแบตจนหมดต่ำกว่า 10.5 โวลต์ความเสียหายย่อมเกิดขึ้น
สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือการพ่วงแบตเตอรี่แล้วขับรถทั้งๆ ที่แบตตายสนิทอยู่ การทำแบบนี้ ไม่ดีต่อทั้ง แบตเตอรี่หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แม้ว่าจะขับรถไปนานๆ และติดเครื่องยนต์ไว้ก็ตามก็ใช่ว่าจะสามารถบรรจุประจุจนเต็มได้ ทำแบบนี้ ก็เพียงแต่สามารถทำให้แบตมีสถานะแบตหมดหรือใกล้หมดซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการปล่อยให้เกิดปฏิกิริยาซัลเฟตต่อไป เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าบรรจุประจุให้กับแบตเตอรี่ซึ่งถูกปล่อยประจุจนตายสนิท เพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ได้ถูกออกแบบไว้ให้รองรับกรณีเช่นนี้ วงจรรักษาแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเองก็ต้องใช้ศักย์ไฟฟ้าอย่างน้อย 12 โวลต์ในการทำงานด้วยเช่นกัน
การหลีกเลี่ยงการปล่อยให้ประจุไฟฟ้ารั่วไหลออกจากแบตเตอรี่รถยนต์
ทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการปล่อยให้ประจุไฟฟ้ารั่วไหลออกจากแบตเตอรี่รถยนต์จนถึงจุดที่ทำให้เกิดความเสียหายก็คือ การดูแลและการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยให้พบปัญหาก่อนที่จะปล่อยให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ ตามมา การที่ประจุไฟฟ้ารั่วขณะไม่ได้ใช้งานต้องทำการแก้ไขทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น ตัวอย่างเช่น รถสตาร์ทติดยากตอนเช้าวันหนึ่ง ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิดไฟหน้าทิ้งไว้ ทำให้เห็นว่าเกิดการรั่วไหลของประจุไฟฟ้าในระบบ การซ่อมแซมก่อนที่แบตจะตายสนิทหรือก่อนที่แบตจะหมดอย่างสนิทหลายๆ ครั้ง จะช่วยให้ประหยัดค่าใช่จ่ายได้ในระยะยาว